
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
Basic Requirements
Responsibilities
Requirements
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
Other interesting jobs
Head of Risk Management
National Savings Fund12/02/2020
Full Time
2 - 7 Year
Bangkok (Rachathewi)
Bachelor's Degree or Higher
Negotiable
- รับนโยบายการบริหารความเสี่ยง จากคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดทำเอกสารการประเมินความเสี่ยง เป็นผู้ประสานงานระหว่างคณะอนุกรรมการ
- เสนอกลยุทธ์แนวปฏิบัติ มาตรการในการบริหารความเสี่ยง
- จัดทำนโยบายบริหารความเสี่ยง ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทหลัก รวมถึงต้องครอบคลุมตามหลัก COSO
- ประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงขององค์กรให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ทบทวนระบบการบริหารความเสี่ยง โดยรวมถึงความมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด
- จัดทำรายงานประเมินความเสี่ยงขององค์กร เสนอต่อคณะกรรมการ กอช. เพื่อทราบเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาเศรษฐศาสตร์ การเงิน หรือ Investment Risk Management หรือ สถิติ และสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้
- มีประสบการณ์ในงานไม่ต่ำกว่า 2- 5 ปี เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการตลาด หรือการตรวจสอบความเสี่ยงด้านการตลาด (Market and Liquidity Risk)
- ความรุ้โดยรวมของธุรกรรมสถาบันการเงิน/ธนาคาร/การเงิน-ลงทุน
- ทักษะการสื่อสารที่ดี มีทักษะการคำนวณ การพยากรณ์ และการวิเคราะห์