
ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ
ภาครัฐ => มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง
คุณสมบัติพื้นฐาน
หน้าที่และความรับผิดชอบ
คุณสมบัติ
ภาคเอกชน => มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาคประชาชน => ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง
ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558
กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา
หัวหน้าฝ่าย ฝ่ายการเงินลงทุน ***ด่วนมาก***
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)25/11/2018
งานประจำ
10 - 15 ปี
กรุงเทพและปริมณฑล
ปริญญาโทหรือสูงกว่า
สามารถเจรจาต่อรองได้
คุณสมบัติ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี/โท สาขาการเงิน หรือสาขาบัญชี และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ถ้ามีประสบการณ์การทำงานบัญชีกองทุนหรือการสอบบัญชีกองทุนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- มีความรู้ความเข้าใจในคำนวณตราสารทางการเงินและเครื่องมือทางการเงินต่างๆ
- มีทัศนคติที่ดี สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
- มีความละเอียดรอบคอบ ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
- มีความเป็นผู้นำ
- มีทักษะและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ดี